วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภูมิลักษณ์ของประเทศไทย

ภูมิลักษณ์ของประเทศไทย 
    ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศเด่น 3 ลักษณะดังนี้
1. เขตภูเขาและหุบเขาภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
            ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา แนวเทือกเขาทอดตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเทือกเขาเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัยที่โค้งลงมาทางใต้ ผ่านประเทศจีน พม่า ไทย และมาเลเซีย ตามลำดับ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาหลวงพระบาง ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขาสันกาลาคีรี และมีที่ราบหุบเขาลักษณะแคบ ๆ อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาเป็นบริเวณที่มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินตะกอนอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
                                                                                                                               
เทือกเขาถนนธงชัย
เทือกเขาหลวงพระบาง 
ทิวเขาตะนาวศรี 
ทิวเขาสันกาลาคีรี
เทือกเขาแดนลาว

เทือกเขาผีปันน้ำ


   2. เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง รูปร่างคล้ายกระทะหงาย มีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้ลาดลงทางด้านตะวันออก เทือกเขาที่สำคัญได้แก่  เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของภาคเป็นแอ่ง เรียกว่าแอ่งโคราช 
                                                                                       เทือกเขาเพชรบูรณ์
เทือกเขาสันกำแพง

3. เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง
                ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือที่ราบตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไป จะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก มีภูเขประปราย -ที่ราบตอนล่างตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม มีลักษณะดินเป็นตะกอนน้ำพา 


    




    


















                  








  

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น